วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เที่ยวเกาะหมาก

. . . .เที่ยวเกาะหมาก. . . .


กาะหมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดตราด ชื่อเกาะหมากได้มาจากคำพ้องเสียงของคำว่า ”หมากป่า” ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่ในอดีตมีอยู่เป็นจำนวนมากบนเกาะ
เกาะหมากมีความเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย เนื่องด้วยตั้งอยู่ในทะเลตราดฝั่งอ่าวไทย ครั้งหนึ่งในยุคล่าอาณานิคม ฝรั่งเศสพยายามที่จะเข้ามายึดดินแดนประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2436 ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดเมืองจันทบุรีและเมืองต่างๆ ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ต่อมาในปี พ.ศ.2446 (ร.ศ.122) ไทยได้เสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสเนื่องจากการตกลงทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ทำให้ไทยจำต้องยกดินแดนตั้งแต่ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี ไปจนถึงเกาะหมาก เกาะกูด และเมืองปัจจันตคีรีเขตร เพื่อแลกเปลี่ยนกับการถอนกองทหารออกจากจันทบุรีและในปี พ.ศ.2449 รัชกาลที่ 5 ทรงตัดสินพระทัยยอมยกดินแดน พระตะบองเสียมราฐ และศรีโสภณ เพื่อแลกเอาจังหวัดตราดและหมู่เกาะต่างๆ คืนมาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 
นอกจาก "เกาะหมาก" มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไทยในยุคการล่าอาณานิคมจากประเทศตะวันตกแล้ว ยังเป็นเกาะหนึ่งในเส้นทางการเสด็จประพาสของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 โดยที่พระองค์ท่านเคยเสด็จถึง 2 ครั้ง และโปรดให้เรือพระที่นั่งจอดบริเวณอ่าวเพื่อประทับแรม
เกาะหมากมีพื้น ที่ทั้งหมด 9,500  ไร่ เป็นที่สาธารณะประโยชน์ 500 ไร่ ที่เหลือประมาณ 9,000 ไร่ เป็นสวนยางพาราและมะพร้าวเกือบทั้งหมด ซึ่งมีการบุกเบิกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ประมาณปี พ.ศ. 2447  ผู้ครอบครองที่ดินส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้องกัน ประกอบด้วย 5 ตระกูลใหญ่ คือ ตะเวทีกุล, วงษ์ศิริ , สุทธิธนกูล , จันทสูตร , และสุขสถิตย์  ทั้ง 5 ตระกูลนี้ต่างรักใคร่กลมเกลียวกันมาหลายชั่วอายุคนจวบจนปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เกาะหมากเป็นเกาะที่มีแต่ความสงบสุข ปลอดภัย และถ้าสังเกตจะเห็นว่าชื่อถนนทุกเส้นบนเกาะหมาก เป็นนามสกุลของบรรพบุรุษในแต่ละตระกูลยึดเป็นอนุสรณ์เพื่ออนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงบรรพชน"เกาะหมาก"
(ข้อมูลอ้างอิง http://www.changtour.net/kohmak.htm ) 

หลวงพรหมภักดี ต้นตระกูล "ตะเวทีกุล"...ผู้ตั้งรกรากบนเกาะหมากเป็นคนแรก
เนื่องจากเป็นเกาะเดียวที่พื้นที่เกาะทั้งหมดเกือบ 9,000 ไร่ มีเจ้าของเป็นทายาทของ "ตระกูลตะเวทีกุล" เพียงตระกูลเดียวจากอดีตถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 100 ปีเศษ ทั้งนี้ นายจักรพรรดิ์ ตะเวทีกุล นายกอบต. เกาะหมากในปัจจุบัน และเป็นเจ้าของเกาะหมากรีสอร์ต ผู้เป็นทายาท รุ่นที่ 4 เล่าว่า หลวงพรหมภักดี (นายเปลี่ยน ตะเวทีกุล) ผู้มีศักดิ์เป็นคุณชวด เป็นผู้เข้ามาครอบครองเกาะหมากเป็นคนแรกเมื่อปี พ.ศ.2447 โดยซื้อจากเจ้าของเดิมชื่อเจ้าสัวเส็ง ปลัดจีนในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเข้ามาจับจองทำสวนมะพร้าวไว้ในราคา 300 ชั่ง (ชั่งละ 80 บาท )
หลวงพรหมภักดีขณะนั้นเป็นปลัดจีนอยู่ที่ จังหวัดประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง ของกัมพูชาในปัจจุบัน) ขณะนั้นเป็นของไทยอยู่ แรกทีเดียวได้ส่งบุตรชาย 3 คนมาทำสวนมะพร้าวอยู่ก่อน คือ นายอู๋ นายเอิบ และนายอาบ ตะเวทีกุล ต่อมาเมื่อไทยเสียเมืองตราด หมู่เกาะต่างๆ รวมทั้งเมืองประจันตคีรีเขตร์ให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกกับการที่ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากเมืองจันทบุรี หลวงพรหมภักดียังคงทำมาค้าขายอยู่ที่เกาะปอ เมืองประจันตคีรีเขตร์ หลวงพรหมภักดีจนกระทั่งอีก 6 ปีต่อมา คือ พ.ศ. 2453 จึงได้อพยพครอบครัวมาตั้งรกรากที่เกาะหมาก ทำสวนมะพร้าวขนาด 3,000 - 4,000 ไร่ และสร้างบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณอ่าวสวนใหญ่ซึ่งมีหาดทรายอันสวยงาม มองเห็นเกาะข้างเคียงได้ชัดเจน เรียกกันว่า บ้านสวนใหญ่
หลวงพรหมภักดีได้แต่งงานกับนางมู่ลี่ มีบุตร 7 คน ธิดา 4 คน รวม 11 คน และต่อมาแต่งงานกับนางทิม มีบุตรชายอีก 1 คน เมื่อบุตรสาวโตขึ้นแต่งงานไปใช้นามสกุลของฝ่ายชาย ฝ่ายชายสืบตระกูลตะเวทีกุลมาถึงปัจจุบัน 5 - 6 ช่วงอายุคนแล้ว
สำหรับนายจักรพรรดิ์ ตะเวทีกุล ซึ่งปัจจุบันเป็นนายก อบต.เกาะหมาก เป็นรุ่นที่ 4 บิดาชื่อนายสันต์ ตะเวทีกุล มารดาคือนางเฉลิม ศรีอรุณ ปู่่คือนายอู๋ ตะเวทีกุล บุตรชายคนที่ 5 ของหลวงพรหมภักดี
เมื่อสิ้นหลวงพรหมภักดี ปี พ.ศ. 2458 สวนมะพร้าวและที่ดินทั้งหมดบนเกาะถูกแบ่งเป็นมรดกให้ลูกๆ หลานๆ ทายาทของหลวงพรหมภักดี ซึ่งในยุครุ่นลูกนี้เองได้มีการนำยางพาราเข้ามาปลูกเป็นจำนวนนับ 1,000 ไร่ และมีการสร้างโรงบ่มยางขึ้นภายในบริเวณบ้านสวนใหญ่ ดังนั้น ในปัจจุบันจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าพื้นที่ เกาะหมาก ทั้งหมด 9,500 ไร่ เป็นที่สาธารณประโยชน์ 500 ไร่ ที่เหลือ 9,000 ไร่ ล้วนแต่เป็นของพี่ๆ น้องๆ ในสายตระกูลตะเวทีกุลเพียงตระกูลเดียวเท่านั้น มีบ้างเล็กน้อยที่ขายให้กับคนต่างถิ่นที่มาลงทุนสร้างรีสอร์ทแต่เป็นส่วนน้อยนิด
นับจากปี พ.ศ 2447 ที่หลวงพรหมภักดีได้เป็นเจ้าของเกาะหมาก มาถึงทายาทในปัจจุบันปี พ.ศ. 2552 รวมระยะเวลา 105 ปี เมื่อวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2547 ที่ผ่านมานี้ กำนันจักรพรรดิ์ ตะเวทีกุล ร่วมกับญาติๆ ทั้งหมดได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองรำลึกถึงหลวงพรหมภักดี และเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวบนเกาะหมาก โดยจะถือเอางานเฉลิมฉลองนี้เป็นเอกลักษณ์ของชาวเกาะหมาก จัดงานเป็นประจำทุกปี เพราะนับวันการท่องเที่ยวจะเติบโตเป็นเศรษฐกิจที่สำคัญบนเกาะหมาก อาจจะทำรายได้ให้ชาวบ้านบนเกาะหมากมากกว่าการทำอาชีพเกษตรกรรม สวนมะพร้าว สวนยางพารา

ประวัติน้ำเชี่ยว

ประวัติน้ำเชี่ยว


กลุ่มชาวไทยมุสลิม  ครั้งแรกมาอยู่ที่ตำบลน้ำเชี่ยวแห่งเดียว ตามที่ พระบริหารเทพธานีสันนิษฐานไว้ว่า “ชนกลุ่มนี้ถูกกวาดต้อนเข้ามาในสมัยสงครามกับญวนในประเทศเขมร ตรงกับรัชกาลที่ 3 มีการเรียนภาษาเขียนที่ใช้ในคัมภีร์อัลกุรอาน มีการสร้างสุเหร่าหรือมัสยิดครั้งแรกที่บ้านน้ำเชี่ยว โดยใช้ ไม้โกงกางมาปักเป็นเขต 4 ต้น หลังคามุงด้วยใบปรง นำมาสานเป็นตับเหมือนตับจากมุงกันแดด กันฝน ต่อมาเมื่อชาวมุสลิมตั้งหลักแหล่งแน่นอนแล้ว ได้ต่อเติมสุเหร่าให้มีสภาพดีขึ้นจนถึงปัจจุบัน โดยมิได้เคลื่อนย้ายจากที่ตั้งเดิมแต่อย่างใด” ซึ่งสุเหร่าแห่งนี้ ปัจจุบันมีชื่อว่า “มัสยิดอัลกุบรอ” ตั้งอยู่ริม คลองน้ำเชี่ยว

 ข้อมูลชุมชน


 ที่ตั้ง 
ตำบลน้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด

 ประวัติความเป็นมา 
     กลุ่มชาวไทยมุสลิม  ครั้งแรกมาอยู่ที่ตำบลน้ำเชี่ยวแห่งเดียว ตามที่ พระบริหารเทพธานีสันนิษฐานไว้ว่า “ชนกลุ่มนี้ถูกกวาดต้อนเข้ามาในสมัยสงครามกับญวนในประเทศเขมร ตรงกับรัชกาลที่ 3 มีการเรียนภาษาเขียนที่ใช้ในคัมภีร์อัลกุรอาน มีการสร้างสุเหร่าหรือมัสยิดครั้งแรกที่บ้านน้ำเชี่ยว โดยใช้ ไม้โกงกางมาปักเป็นเขต 4 ต้น หลังคามุงด้วยใบปรง นำมาสานเป็นตับเหมือนตับจากมุงกันแดด กันฝน ต่อมาเมื่อชาวมุสลิมตั้งหลักแหล่งแน่นอนแล้ว ได้ต่อเติมสุเหร่าให้มีสภาพดีขึ้นจนถึงปัจจุบัน โดยมิได้เคลื่อนย้ายจากที่ตั้งเดิมแต่อย่างใด” ซึ่งสุเหร่าแห่งนี้ ปัจจุบันมีชื่อว่า “มัสยิดอัลกุบรอ” ตั้งอยู่ริม คลองน้ำเชี่ยว
 
                                    อ้างอิง : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
 
เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตราด
 
เดิมทีประชากรของตำบลน้ำเชี่ยว เป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ ต่อมามีพ่อค้าชาวจีนล่องเรือสำเภามาค้าขายสินค้าที่ท่าเรือบ้านน้ำเชี่ยว และได้ตั้งรกรากอยู่ที่นี่ ทำให้ชาวน้ำเชี่ยวส่วนหนึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายจีน และในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีชาวมุสลิมซึ่งเรียกตัวเองว่า “แขกจาม หรือ จำปา” อพยพหนีสงครามมาจากประเทศเขมร    มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ริมคลองน้ำเชี่ยว และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวพุทธและมุสลิมสามารถแต่งงานข้ามศาสนาได้   ซึ่งพี่น้องทั้งสองศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันในตำบลน้ำเชี่ยวอย่างสันติสุขด้วยความสัมพันธ์อันดีตลอดมา
ที่มาของชื่อชุมชน “น้ำเชี่ยว” มาจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนินอยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในคลองจะไหลเชี่ยวมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “คลองน้ำเชี่ยว” ไหลผ่านกลางหมู่บ้านน้ำเชี่ยวลงสู่ทะเลอ่าวไทยทางใต้ที่บ้านปากคลอง ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นแหล่งประมงพื้นบ้านและใช้เป็นเส้นทางออกทะเลเพื่อทำการประมงจนถึงปัจจุบัน
ชาวตำบลน้ำเชี่ยวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ประมง ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และค้าขาย ปัจจุบันมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 3,368 คน 1,199 ครัวเรือน

ตำนานของเกาะช้าง

. . . ตำนานของเกาะช้าง . . .


ตำนานเกาะช้าง
       ตำนานเกาะช้างนี้มีความเกี่ยวพันกันกับตำนานแหลมงอบ
มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าในจังหวัดตราดได้เล่าไว้
หลายกระแส ผู้เขียนพอรวบรวมมาได้ ความว่า
บ้านแหลมงอบนั้น มีหญิงชราคนหนึ่ง ชื่อยายม่อม  ได้เลี้ยงควาย
โดยมีคอกควายอยู่ที่สลักคอก วันหนึ่งควายได้หายไป ยายม่อมออกตามหาควาย จนไปจมน้ำทะเลตายกลายเป็น
โขดหินชื่อยายม่อม ส่วนงอบที่ยายม่อมใส่ไปนั้นกลายเป็นแหลมงอบ ควายของยายม่อมกลายเป็นโขดหินเช่นกัน

       สำหรับเกาะช้างนั้น มีตำนานเล่าว่า เดิมเกาะช้างนั้น มีเสือขนาดใหญ่อาศัยอยู่ชุกชุมมาก โดยข้ามไปมา
ระหว่างฝั่งตำบลแหลมงอบกับเกาะช้างกันได้ ความชุกชุมของเสือที่เกาะช้างในกาลครั้งนั้นปรากฏว่า เสือย่อมเที่ยวเพ่นพ่านหากินอยู่ตามละแวกหมู่บ้านคนนั่นเอง ในช่วงปลายสมัยรัชการที่ ๔ มีญวนผู้หนึ่ง ชื่อ “องค์โด้”
 มีวิชาอาคมแก่กล้า ที่สามารถขับไล่เสือออกไปจากเกาะช้างจนหมดสิ้น ในหนังสือจดหมายเหตุความทรงจำ
สมัยฝรั่งเศสยึดจันทบุรี และตราด ของหลวงสาครคชเขตต์
 (อภิลักษณ์ เกษมพูลผล คอลัมภ์จดหมายเหตุเมืองตราดหนังสือพิมพ์ประชามติ :หน้า๙,๒๕๔๘) กล่าวถึงองค์โด้ ผู้นี้ไว้ว่า เป็นชาวญวณ ผู้มีวิชาอาคมที่แก่กล้าสามารถปราบเสือที่มีอยู่อย่างชุกชุมในเกาะช้างจนเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวบ้านยิ่งนัก
       “...ความได้ปรากฏว่า มีผู้วิเศษคนหนึ่งชื่อ องค์โด้ ได้มาที่เกาะช้าง แล้วจัดการทำพิธีร่ายอาคมลง อาถรรพ์ขับไล่เสือร้ายให้สูญหายไป แล้วหลังจากนั้น มาจนกระทั่งบัดนี้ ไม่ปรากฏว่ามีใครพบเห็นเสืออีกเลย...”

       สำหรับตำนานเรื่องนี้ นายติ้น ซึ่งเป็นชาวบ้านเกาะช้าง ได้เคยเล่าถวายสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๕ เมื่อครั้งเสด็จประพาสเกาะช้าง  ซึ่งต่อมานายติ้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงติ้นต้นสกุลสลักเพชร

       เรื่องราวที่กล่าวถึงตำนานเกาะช้าง  ชุมชนในเกาะช้าง และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็น ๑ ใน ๕ ของตำนานและนิทานพื้นเมืองของจังหวัดตราดที่กรมศิลปากร ได้พยายามรวบรวม (มหาวิทยาลัยบูรพา,การรักษาเอกลักษณ์และสร้างภูมิต้านทานให้ชุมชนเกาะช้างเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากการพัฒนาการท่องเที่ยว, ๒๕๔๕-๒๕๔๖:๗-๙)  สรุปได้ดังนี้

“ในสมัยหนึ่งพระโพธิสัตว์ได้มาสร้างตำหนักเลี้ยงช้างอยู่ที่เกาะช้าง มีพลายเชือกหนึ่งเป็นจ่าโขลงชื่ออ้ายเพชรและมีสองตายายเป็นผู้เลี้ยง ชื่อยายม่อม ส่วนตานั้นไม่ปรากฏชื่อ วันหนึ่งอ้ายเพชรเกิดตกมันหนีเข้าป่าและผสมพันธุ์กับช้างป่า แลเกิดลูกสามเชือก เมื่อพระโพธิสัตว์ทราบเรื่อง สั่งให้ตายายออกตาม โดยให้ตาไปทาง
ทิศเหนือ ส่วนยายไปทิศใต้ อ้ายเพชรหนีไปจนสุดเกาะทางทิศเหนือ ก็ว่ายน้ำข้ามทะเลมาขึ้นฝั่งที่บ้านธรรมชาติ
ปัจจุบันนี้ ส่วนลูกทั้งสามตามไปแต่ว่ายน้ำไม่เป็นจึงจมน้ำตายกลายเป็นหินสามกอง ตรงบริเวณอ่าวคลองสน
ชาวบ้านเรียกว่า “หินช้างสามลูก” ส่วนอ้ายเพชรว่ายน้ำไปจนถึงกลางร่องทะเลลึกได้ถ่ายมูลไว้กลายเป็นหิน เรียกว่า “หินขี้ช้าง” เมื่อขึ้นฝั่งได้ อ้ายเพชรก็มุ่งหน้าเลียบชายฝั่งด้านใต้  ตาซึ่งเป็นผู้เลี้ยงตามไปไม่ทันจึงกลับให้ยายข้ามฝั่งตามไปคนเดียว จนกระทั่งไปตกหลุมโคลนถอนตัวไม่ขึ้นเสียชีวิต และร่างกลายเป็นหิน ชาวบ้านเรียกว่า “หินยายม่อม” ส่วนงอบที่สวมไปด้วยได้ลอยไปตอดตรงปลายแหลมและกลายเป็นหินตรงบริเวณที่ตั้งกระโจมไฟปัจจุบัน “แหลมงอบ” จึงเป็นชื่อที่ได้มาจากงอบของยายม่อมที่ลอยไปติดฝั่งนั่นเอง
       เมื่อพระโพธิสัตว์ทราบเรื่องจากตาจึงเข้าใจว่า อ้ายเพชรจะต้องไปยังเกาะอีก จึงเกณฑ์คนให้ทำคอกดัก ยาวเกือบถึงท้ายเกาะด้านใต้ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านแถบนั้นว่า “บ้านคอก” และเกาะที่เกิดจากลิ่มและสลักทำคอกเรียกว่า “เกาะลิ่ม” “เกาะสลัก” และส่วนใหญ่มักจะเรียกรวมกันว่า “บ้านสลักคอก”
       ส่วนอ้ายเพชรคิดข้ามไปยังเกาะจริง แต่ไม่กลับเข้าคอก แต่เดินอ้อมไปเข้าท้องอ่าวหน้านอก พระโพธิสัตว์จึงสั่งให้คนไปสกัดให้กลับมาเข้าคอก ชาวบ้านจึงเรียกที่ที่ไปสกัดช้าง ตามภาษาชาวบ้านว่า
 “สลักหน้า” หรือ“บ้านสลักเพชร” ซึ่งหมายถึงการสกัด (สลัก) หน้าอ้ายเพชรนั้น ด้วยเหตุแห่งความยุ่งยากทั้งหลาย จึงเป็นเหตุให้พระโพธิสัตว์ได้ฝังอาถรรพ์ไว้ตามเกาะต่างๆเพื่อไม่ให้ช้างเข้าไปอาศัยอีก นับแต่นั้นมาจึงไม่มีช้างอาศัยอยู่บนเกาะจนกระทั่งปัจจุบัน

ภูมิปัญญา อาชีพดั้งเดิมของชุมชนเกาะช้าง
       การอาชีพชาวเกาะ มีการทำสวนมะพร้าว การประมงและการหาสินค้าของป่าตามป่าเขาเป็นพื้นแต่เฉพาะที่เกาะช้างและเกาะหมาก มีการทำนา ทำสวนพริก และสวนหมาก ซึ่งปรากฏหลักฐานการทำสวนพริกไทยมาตั้งแต่สมันรัชการที่ ๕ ที่เจ้าของสวนพริกไทยและสวนหมากขอขายสวนให้เป็นของหลวงโดยพระประเสริฐวานิช ปลูกสวนหมากและพริกไทยที่ตำบลเกาะช้าง พร้อมโรงเรือน ลงทุนไปประมาณ
๗๐๐ ชั่ง มีพริกไทย ๒,๐๐๐ ค้าง สวนหมาก ๓,๐๐๐ ต้น แต่ขัดสนเรื่องเงินทอง จึงได้ตัดสินใจขายสวนดังกล่าวแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้าสยามมหามงกุฎ เป็นเงิน ๓๒๐ ชั่ง และตนก็ย้ายไปขายฝิ่นที่เมืองลาวโดยเจ้าคุณสุรศักดิ์มนตรี (มหาวิทยาลัยบูรพา,การรักษาเอกลักษณ์และสร้างภูมิต้านทานให้ชุมชนเกาะช้างเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากการพัฒนาการท่องเที่ยว, ๒๕๔๕-๒๕๔๖:๑๐)(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมบทบรรณานุกรมเรื่อง “พระประเสริฐวานิช ขอขายสวนพริกสวนหมาก)

       จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นถึงลักษณะอาชีพการทำมาหากินของชุมชนเกาะช้าง
คือการทำอาชีพสวนหมากและสวนพริกไทยเป็นส่วนใหญ่ และมีบางส่วนของพื้นที่ประกอบอาชีพทำนาด้วย

       นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพทำสวนยางพารารับเบอร์ กับสวนผลไม้เบ็ดเตล็ดบ้างเพราะพื้นที่เกาะช้างมีพื้นที่ราบ ทำนา ทำสวนได้มาก ดังนั้นการเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้เป็นพาหนะหรือใช้ในการทำนา เช่นกระบือ ที่เกาะช้างสมัยก่อนมีการเลี้ยงไว้มาก เพราะนอกจากจะใช้ไถนา การลากเข็นไม้แล้ว ยังมีการขายกระบือส่งไปบนฝั่ง ทางแขวงจังหวัดตราดอีกด้วย สัตว์จำพวกที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารมี สุกร เป็ด ไก่ เลี้ยงกัน
ทั่วไป

ประวัติโรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม

 

ประวัติโรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม . . . . .

   โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม  เดิมเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา ชื่อ “โรงเรียนตราดสรรเสริญ” เปิดสอนตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๐๒ โดยใช้ศาลาการเปรียญของวัดกลางเป็นอาคารเรียนชั่วคราว ในปีต่อมาได้ย้ายไปใช้ศาลาการเปรียญวัดไผ่ล้อม เนื่องจากมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นและ ในปีการศึกษา ๒๕๐๕ ได้ย้ายมาทำการเรียนการสอนยังสถานที่ตั้งปัจจุบัน 
ปีการศึกษา ๒๕๐๔  ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๐๓ กำหนดให้โรงเรียนที่เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาเป็นโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนตราดสรรเสริญจึงเปลี่ยนเป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกองการประถมศึกษา กรมสามัญศึกษา
ปีการศึกษา ๒๕๑๘ โรงเรียนตราดสรรเสริญมีจำนวนนักเรียนน้อยลง  ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐกำหนดให้ขยายการศึกษาภาคบังคับจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๗
ปีการศึกษา ๒๕๑๙ ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๐ กำหนดให้นักเรียน เรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ๖ ปี ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ๓ ปี และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ๓ ปี โรงเรียนตราดสรรเสริญไม่มีนักเรียนมาสมัครเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา จังหวัดจึงได้ขอเปิดเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นชื่อ “โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม” โดยโอนทรัพย์สิน บุคลากรทั้งหมดของโรงเรียนตราดสรรเสริญ เป็นของโรงเรียน  เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ปีการศึกษา ๒๕๓๓ โรงเรียนได้เปิดสาขาโรงเรียนที่ตำบลห้วยแร้ง ตามนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา ปัจจุบัน คือ โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม
ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๕ โรงเรียนเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖) เพิ่มขึ้น
ในปีการศึกษา ๒๕๓๙ โรงเรียนได้รับคัดเลือกเข้าโครงการปฏิรูปการศึกษา และปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ระดับช่วงชั้นที่ ๓ – ช่วงชั้นที่ ๔ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖)

กีฬาสีโรงเรียน

กีฬาสีโรงเรียน
 กีฬาสีของโรง้รียนเป็นกีฬาสีที่สนุกและมีกีฬาหลายประเภทมาก แต่เสียดายมากที่มีน้อยวัน อยากให้มีกีฬาสีหลายๆวัน จะไเ้มีความสุขและได้เล่นกีฬาของโรงเรียนอีก กีฬาสีทไให้ผมมีความสามัคคีกับเพื่อนๆและรักในสีของตนเอง และมีความร่วมมือกันเขียร์สีของตนเอง

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

กีฬา เปตอง

เปตองเป็นกีฬากลางแจ้งประเภทหนึ่งซึ่งมีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ประวัติที่แน่นอนไม่มีการ บันทึกไว้ แต่มีหลักฐานจากการเล่าสืบต่อๆกันมาว่า กำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศกรีซ เมื่อประมาณ2,000ปีก่อนคริสต์มาสโดยเก็บก้อนหินที่เป็นทรงกลมจากภูเขาและใต้ทะเล มาเล่นกันต่อมากีฬาประเภทนี้ได้แพร่หลายเข้ามาในทวีปยุโรปเมื่ออาณาจักรโรมันครองอำนาจและเข้ายึดครองดินแดนของชนชาติกรีกได้สำเร็จชาวโรมันไดใช้การกีฬาประเภทนี้ เป็นเครื่องทดสอบกำลังข้อมือและกำลังกายของผู้ชายในสมัยนั้น
        ต่อมาเมื่ออาณาจักรโรมันเข้ายึดครองดินแดนชาวโกลหรือประทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน ชาวโรมันก็ได้นำเอาการเล่นลูกบูลประเภทนี้เข้าไปเผยแพร่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส การเล่นลูกบูลจึงได้พัฒนาขึ้นโดยเปลี่ยนมาใช้ไม้เนื้อแข็งถากเป็นลูกทรงกลมแล้วใช้ตะปู
ตอกรอบๆเพื่อเพิ่มน้ำหนักของลูกให้เหมาะกับมือ
ในยุคกลางประมาณ ค.ศ.400-1,000 การเล่นลูกบูลนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายในประเทศฝรั่งเศส ครั้นพอสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ได้ทรงประกาศสงวนกีฬาการเล่นลูกบูลนี้ไว้สำหรับผู้สูงเกียรติ และให้เล่นได้เฉพาะพระราชสำนักเท่านั้น

เมืองจำลอง(minisaim)

         
              
มืองจำลองสยาม เกิดขึ้นจากความคิดที่ว่า โบราณสถานและโบราณวัตถุในสมัยต่างๆ นั้นเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นเอกราชของไทย  แต่ยิ่งเวลาผ่านไป โบราณสถานเหล่านั้นมีแต่จะยิ่งทรุดโทรมลง การไปเยี่ยมชมสถานที่เหล่านั้นซึ่งกระจายกันอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลาเดินทางเป็นอันมาก  เมืองจำลองสยามจึงได้รวบรวมสถานที่สำคัญเหล่านั้น นำมาย่อส่วนให้เป็นแบบจำลองให้อยู่ในบริเวณเดียวกัน เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้ด้านวัฒนธรรมให้ชนรุ่นหลังได้มีไว้ค้นคว้าและก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในการทำนุบำรุงรักษาสิ่งเหล่านั้นไว้สืบไป
เมืองจำลองเริ่มต้นโครงการด้วยการค้นคว้าข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528  และเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2529   โดยมีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นแบบจำลองชิ้นแรก นอกจากงานจำลองโบราณสถานต่างๆ ของไทย ยังมีงานจำลองสถานที่สำคัญของประเทศต่างๆ