วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประวัติน้ำเชี่ยว

ประวัติน้ำเชี่ยว


กลุ่มชาวไทยมุสลิม  ครั้งแรกมาอยู่ที่ตำบลน้ำเชี่ยวแห่งเดียว ตามที่ พระบริหารเทพธานีสันนิษฐานไว้ว่า “ชนกลุ่มนี้ถูกกวาดต้อนเข้ามาในสมัยสงครามกับญวนในประเทศเขมร ตรงกับรัชกาลที่ 3 มีการเรียนภาษาเขียนที่ใช้ในคัมภีร์อัลกุรอาน มีการสร้างสุเหร่าหรือมัสยิดครั้งแรกที่บ้านน้ำเชี่ยว โดยใช้ ไม้โกงกางมาปักเป็นเขต 4 ต้น หลังคามุงด้วยใบปรง นำมาสานเป็นตับเหมือนตับจากมุงกันแดด กันฝน ต่อมาเมื่อชาวมุสลิมตั้งหลักแหล่งแน่นอนแล้ว ได้ต่อเติมสุเหร่าให้มีสภาพดีขึ้นจนถึงปัจจุบัน โดยมิได้เคลื่อนย้ายจากที่ตั้งเดิมแต่อย่างใด” ซึ่งสุเหร่าแห่งนี้ ปัจจุบันมีชื่อว่า “มัสยิดอัลกุบรอ” ตั้งอยู่ริม คลองน้ำเชี่ยว

 ข้อมูลชุมชน


 ที่ตั้ง 
ตำบลน้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด

 ประวัติความเป็นมา 
     กลุ่มชาวไทยมุสลิม  ครั้งแรกมาอยู่ที่ตำบลน้ำเชี่ยวแห่งเดียว ตามที่ พระบริหารเทพธานีสันนิษฐานไว้ว่า “ชนกลุ่มนี้ถูกกวาดต้อนเข้ามาในสมัยสงครามกับญวนในประเทศเขมร ตรงกับรัชกาลที่ 3 มีการเรียนภาษาเขียนที่ใช้ในคัมภีร์อัลกุรอาน มีการสร้างสุเหร่าหรือมัสยิดครั้งแรกที่บ้านน้ำเชี่ยว โดยใช้ ไม้โกงกางมาปักเป็นเขต 4 ต้น หลังคามุงด้วยใบปรง นำมาสานเป็นตับเหมือนตับจากมุงกันแดด กันฝน ต่อมาเมื่อชาวมุสลิมตั้งหลักแหล่งแน่นอนแล้ว ได้ต่อเติมสุเหร่าให้มีสภาพดีขึ้นจนถึงปัจจุบัน โดยมิได้เคลื่อนย้ายจากที่ตั้งเดิมแต่อย่างใด” ซึ่งสุเหร่าแห่งนี้ ปัจจุบันมีชื่อว่า “มัสยิดอัลกุบรอ” ตั้งอยู่ริม คลองน้ำเชี่ยว
 
                                    อ้างอิง : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
 
เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตราด
 
เดิมทีประชากรของตำบลน้ำเชี่ยว เป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ ต่อมามีพ่อค้าชาวจีนล่องเรือสำเภามาค้าขายสินค้าที่ท่าเรือบ้านน้ำเชี่ยว และได้ตั้งรกรากอยู่ที่นี่ ทำให้ชาวน้ำเชี่ยวส่วนหนึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายจีน และในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีชาวมุสลิมซึ่งเรียกตัวเองว่า “แขกจาม หรือ จำปา” อพยพหนีสงครามมาจากประเทศเขมร    มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ริมคลองน้ำเชี่ยว และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวพุทธและมุสลิมสามารถแต่งงานข้ามศาสนาได้   ซึ่งพี่น้องทั้งสองศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันในตำบลน้ำเชี่ยวอย่างสันติสุขด้วยความสัมพันธ์อันดีตลอดมา
ที่มาของชื่อชุมชน “น้ำเชี่ยว” มาจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนินอยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในคลองจะไหลเชี่ยวมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “คลองน้ำเชี่ยว” ไหลผ่านกลางหมู่บ้านน้ำเชี่ยวลงสู่ทะเลอ่าวไทยทางใต้ที่บ้านปากคลอง ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นแหล่งประมงพื้นบ้านและใช้เป็นเส้นทางออกทะเลเพื่อทำการประมงจนถึงปัจจุบัน
ชาวตำบลน้ำเชี่ยวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ประมง ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และค้าขาย ปัจจุบันมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 3,368 คน 1,199 ครัวเรือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น